เอกสารสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้

ความหมาย ความสำคัญ และขอบข่ายของการจัดการเรียนรู้


การจัดการเรียนรู้
              การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน
              ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร  ผู้สอนพยายามคัดสรร                     กระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้  รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่างๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย

หลักการจัดการเรียนรู้
                   การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน   โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง             เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน  เพื่อการศึกษาค้นคว้าและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างสถานศึกษา  ท้องถิ่น ชุมชน สังคมโลก
การเรียนรู้เป็นระยะๆ และสม่ำเสมอ
ไม่กระทบความมั่นคงของชาติ ไม่ขัดต่อศีลธรรม  มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง  รูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่าย  และน่าสนใจ
การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน  ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน          ให้ประสบผลสำเร็จนั้น  ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน  ระดับสถานศึกษา  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน  ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด              การพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ
การเรียนรู้  อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุง
การเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
การเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียน           ในชั้นประถมศึกษาปีที่    ชั้นประถมศึกษาปีที่    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่    เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา  ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุน             การตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ

กระบวนการเรียนรู้
                    การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร  กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้   กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้                      จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง  กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย
    กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝน พัฒนา เพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอน                   จึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.  การออกแบบการจัดการเรียนรู้

                     ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน  แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน  สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด 

๔. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
                     การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร ทั้งผู้สอนและผู้เรียนควรมีบทบาท ดังนี้
.๑ บทบาทของผู้สอน
      ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน
การจัดการเรียนรู้ ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน
       ๒) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะ
กระบวนการ ที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                             )  ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
      ๔)  จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้  และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
      ๕) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม  นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 
เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
      ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย  เหมาะสมกับ
ธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน
      ๗) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้ง
ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
๔.๒  บทบาทของผู้เรียน
        )   กำหนดเป้าหมาย   วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
        ๒)  เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้  วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้        
ตั้งคำถาม คิดหาคำตอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ 
๒)     ลงมือปฏิบัติจริง  สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้            
ในสถานการณ์ต่าง 
๓)     มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู  
๔)     ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง


 สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการกระบวนการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ                   สื่อการเรียนรู้มีหลากหลายประเภท ทั้งสื่อธรรมชาติ  สื่อสิ่งพิมพ์    สื่อเทคโนโลยี และเครือข่าย                 การเรียนรู้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น  การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ และลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน 
การจัดหาสื่อการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเอง  หรือปรับปรุงเลือกใช้อย่างมีคุณภาพจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและสื่อสารให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้    โดยสถานศึกษาควรจัดให้มีอย่างพอเพียง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน            เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  สถานศึกษา  เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ควรดำเนินการดังนี้ 
              ๑.  จัดให้มีแหล่งการเรียนรู้  ศูนย์สื่อการเรียนรู้  ระบบสารสนเทศการเรียนรู้ และเครือข่าย
              ๒.  จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน  เสริมความรู้ให้ผู้สอน   รวมทั้งจัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้
            ๓.  เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  มีความเหมาะสม  มีความหลากหลาย สอดคล้อง          กับวิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
              ๔.  ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ที่เลือกใช้อย่างเป็นระบบ 
              ๕.  ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
              ๖.  จัดให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพเกี่ยวกับสื่อและการใช้สื่อ
ในการจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษา                       ควรคำนึงถึงหลักการสำคัญของสื่อการเรียนรู้ เช่น ความสอดคล้องกับหลักสูตร  วัตถุประสงค์การเรียนรู้  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหามีความถูกต้องและทันสมัย




การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
              การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือ
              การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ  มีรายละเอียด ดังนี้
๑.  การประเมินระดับชั้นเรียน  เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ ภาระงาน  แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ  ฯลฯ  โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาส             ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มี     การสอนซ่อมเสริม
                   การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าใน
๒.  การประเมินระดับสถานศึกษา  เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผล      การเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  คุณลักษณะ            อันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษา             ของสถานศึกษา ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใด รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน  ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา                 ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองและชุมชน 
            ๓.  การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา   ตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัด ในการดำเนินการจัดสอบ นอกจากนี้ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจากการประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
                    ๔.  การประเมินระดับชาติ   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐาน
             ข้อมูลการประเมินในระดับต่าง ๆ ข้างต้น เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการตรวจสอบทบทวนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือ ปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐาน                   ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่จำแนกตามสภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มผู้เรียนทั่วไป กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ   กลุ่มผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินัยและพฤติกรรม  กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียน กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มพิการทางร่างกายและสติปัญญา เป็นต้น ข้อมูลจากการประเมินจึงเป็นหัวใจของสถานศึกษาในการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงที ปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและประสบความสำเร็จในการเรียน
             สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา  จะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน

เอกสารอ้างอิง 

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2552. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสรกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 


No comments:

Post a Comment